วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

4f43fg

ยอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับหนังสือการ์ตูน

หน้าปกของเล่มที่ 1 ที่พิมพ์โดยโชงะกุกัง
ข้อมูลเพิ่มเติมที่ รายชื่อตอนของยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (มังงะ)
ในปี พ.ศ. 2537 ตลาดหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นได้มีการปรากฏการ์ตูนแนวสืบสวนมากขึ้น หลังจากการตีพิมพ์การ์ตูนเรื่องคินดะอิจิยอดนักสืบ อาจารย์อาโอยาม่า โกโชเริ่มที่จะวาดตัวการ์ตูนเรื่องยอดนักสืบจิ๋วโคนันในช่วงนี้ ผลงานบทแรกของเขาได้ปรากฏในนิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์โชงะกุกังโชเนนซันเดย์ ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ปีเดียวกัน อาจารย์อาโอยาม่า โกโชได้นำเค้าโครงเรื่องมากจากเรื่อง อาร์แซน ลูแปง, เชอร์ล็อก โฮล์มส์, และหนังซามูไรของ อากิระ คุโรซาวา อาจารย์อาโอยาม่า โกโชเคยบอกไว้ว่าอาจารย์จะใช้เวลาเฉลี่ยในการคิดคดีใหม่ๆในการ์ตูนราว 4 ชั่วโมง ถ้าคดีไหนยิ่งซับซ้อนมากก็จะใช้เวลามากกว่า 12 ชั่วโมง คดีทุกคดีจะประกอบด้วยหลายๆบท และจะถูกคลี่คลายในตอนจบทุกครั้งโดยตัวละครจะอธิบายในรูปแบบง่ายๆ อาจารย์อาโอยาม่า โกโชยังคงใช้ภาษาง่ายๆให้ผู้อ่านได้ติดตามผลงานของเรื่องไปเรื่อยๆ
ยอดนักสืบจิ๋วโคนันได้กลายเป็นหนังสือการ์ตูนเรื่องยาวที่มีมากกว่า 700 บท โดยทุกๆบทได้ถูกรวบรวมโดยโชงะกุกัง โดยเล่มแรกได้ออกวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2537 และผู้ช่วยของอาจารย์อาโอยาม่า โกโช ก็ได้เขียนและจัดพิมพ์โคนันแบบ side storyจำนวน 36 เล่มแล้วด้วยกัน
ยอดนักสืบจิ๋วโคนันได้ขอลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์ไปทั่วโลกเช่น จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี อินโดนีเซีย ฟินแลนด์ และไทย โดยในสหรัฐอมเริกาได้ถูกตีพิมพ์โดยวีซ มีเดีย โดยได้ใช้ชื่อเรื่องว่า "Case Closed"
ส่วนยอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับหนังสือการ์ตูนในประเทศไทยเป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ

[แก้] ยอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับการ์ตูนโทรทัศน์

ข้อมูลเพิ่มเติมที่ รายชื่อตอนของยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (แอนิเมชั่น)
ยอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับการ์ตูนโทรทัศน์ผลิตขึ้นโดย โยมิอุริ เทเลแคสติ้ง คอปอเรชั่น และ ทีเอ็มเอสเอ็นเตอร์เทนเมนต์ กำกับโดยโคดามะ เคนจิ และ ยามาโมโตะ ยาซุยจิโร่ ยอดนักสืบจิ๋วโคนันได้ออกอากาศในประเทศญี่ปุ่นมาแล้วมากกว่า 600 ตอน โดยจัดลำดับให้เป็นการ์ตูนโทรทัศน์เรื่องยาวที่มีความยาวมากที่สุดเป็นอันดับที่ 6 โดยเริ่มแรก โชงะกุกังได้ออกวางจำหน่ายแต่ละตอนในรูปแบบวิดีโอ (VHS Video Cassettes) ในระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2539 - เดือนตุลาคม พ.ศ. 2549
ส่วนยอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับการ์ตูนโทรทัศน์ในประเทศไทย เดิมเจ้าของลิขสิทธิ์คือบริษัท วิดีโอสแควร์ จำกัด โดยน่ามีการจัดจำหน่ายในรูปแบบวิดีโอ หรือ (VHS Video Cassettes) และในรูปแบบวีซีดี โดยรูปแบบวีซีดี จัดจำหน่ายโดย บริษัท ฮิต เอ็นเตอร์เท็นเมนต์ จำกัด แต่ต่อมา บริษัท ทีไอจีเอ จำกัด ก็ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในเวลาถัดมา (ขณะนี้มีลิขสิทธิ์ถึงปี 9) แล้วได้ออกจัดจำหน่ายในรูปแบบทั้งวีซีดี และดีวีดีตามลำดับ และตั่งแต่ปี 10ก็มีลิขสิทธิ์จาก บริษัท ทีเอ็มเอสเอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น